แผนที่ อุทยานหลวงราชพฤกษ์
หากใครไปเที่ยวที่ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ หนึ่งในที่ห้ามพลาดก็คือ หอคำหลวง อาคารที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมท้องถิ่นล้านนาภายใต้แนวคิดว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย” ตั้งอยู่บนเนินดิน พื้นที่ 3,000 ตารางเมตร
การท่าเรือแห่งประเทศไทย จัดแสดง “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน” แห่งเดียวในภาคเหนือ โดยมีการจัดสวนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ถาวรเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน ระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชและสัตว์นานาชนิดดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลนน้ำกร่อย ฯลฯ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา เกษตรกร รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่เข้าชมอุทยานหลวงราชพฤกษ์
เป็นพื้นที่จัดแสดงของมิตรประเทศที่มาร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมจัดสวนทั้งหมด 22 ประเทศ จาก 3 ทวีป ทั้งหมด 23 สวน เช่น
สวนประเทศลาว
สวนประเทศโมร็อคโค
สวนประเทศญี่ปุ่น
สวนอินเดีย
สวนไทย
นอกจากจะได้เรียนรู้วิถีแบบพอเพียงที่สวนเกษตรทฤษฎีใหม่แล้ว ด้านในยังมีมุมถ่ายภาพสวยๆ บรรยากาศร่มรื่นเป็นธรรมชาติอีกด้วย
“ดอกราชพฤกษ์” หรือ “ดอกคูน” ดอกไม้ประจำชาติไทย จะออกดอกเหลืองอร่ามงามตาไปพร้อมๆ กันในทุกๆ ที่ ซึ่งในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ก็มีต้นราชพฤกษ์ปลูกอยู่จำนวนไม่น้อย และจุดที่เด่นที่สุดคงหนีไม่พ้นตรงบริเวณเนินราชพฤกษ์ และแถวบึงราชพฤกษ์ จะออกดอกบานในช่วงฤดูร้อน*
ไฮเดรนเยีย ดอกไม้เปลี่ยนสีหลากสีสันสวยงามออกดอกบานสะพรั่งต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วง Green Season ณ อาคารเรือนไม้ดอก ความสวยงามของดอกไม้สายพันธุ์นี้สามารถเปลี่ยนสีดอกได้ตามสภาพดินที่ปลูก โดยดินที่มีสภาพเป็นกรดจะเปลี่ยนเป็นดอกสีฟ้า-สีม่วง ถ้าดินที่มีสภาพเป็นด่างจะเป็นดอกสีชมพู